การเปลี่ยนแปลงยาในร่างกาย และการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยา ของ พิทาวาสแตติน

ยากลุ่มสแตตินโดยส่วนใหญ่นั้นมักถูกเปลี่ยนแปลงในร่างกายโดยกลุ่มเอนไซม์ Cytochrome P450 ที่ตับ โดยแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิดของยา และเนื่องด้วยยาชนิดอื่นส่วนใหญ่ก็มักเกิดถูกเปลี่ยนแปลงโดยกลุ่มเอนไซม์ดังกล่าวในร่างกายเช่นกัน ดังนั้นจึงทำให้ยากลุ่มสแตตินนี้สามารถเกิดอันตรกิริยาระหว่างยากับยาชนิดอื่นๆได้มาก รวมไปถึงการเกิดอันตรกิริยากับอาหารบางชนิด เช่น grapefruit juice แต่พิทาวาสแตตินมีข้อแตกต่างไปจากยาสแตตินชนิดอื่น คือ ยาดังกล่าวเกิดการเปลี่ยนแปลงโดยเอนไซม์ CYP2C9 เป็นหลัก ขณะที่สแตตินชนิดอื่นนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ CYP3A4 เป็นหลัก (เอนไซม์ CYP3A4 ที่ตับนั้นทำหน้าที่ในการเปลี่ยนแปลงยาหลายชนิด ซึ่งมากกว่า 80% ของยาที่มีในปัจจุบันเกิดการเปลี่ยนแปลงในร่างกายโดยเอนไซม์นี้) ทำให้พิทาวาสแตตินมีโอกาสที่จะเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาได้น้อยกว่ายาอื่นในกลุ่มเดียวกัน ดังนั้นพิทาวาสแตตินอาจมีความสำคัญในกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุที่มีโรคหลายชนิด ซึ่งต้องรับประทานยาหลายชนิดตามไปด้วย (การรับประทานยาหลายชนิดร่วมกัน ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยามากขึ้น)[2][5]

แหล่งที่มา

WikiPedia: พิทาวาสแตติน http://www.chemspider.com/Chemical-Structure.44456... http://www.expresspharmapulse.com/20050303/inthene... http://www.modernmedicine.com/modern-medicine/cont... http://www.sciencedaily.com/releases/2013/03/13031... http://www.kowapharmaceuticals.eu/assets/dl/about_... http://www.accessdata.fda.gov/scripts/cder/drugsat... http://www.fda.gov/NewsEvents/Newsroom/PressAnnoun... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17957184 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19907105 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/21673458